1. ฟ้อนล่องน่าน ฟ้อนล่องน่านเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดน่านที่มีการฟ้อนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคืนฟ้อนไม่จีบมือ และท่าฟ้อนเป็นท่าที่ได้มาจากวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน โดยชาวน่านมักจะนำมาฟ้อนในงานบุญต่างๆ เช่น งานฟ้อนนำขบวนแห่ในงานต่างๆ เช่น ขบวนแห่ครัวทานเข้าวัด งานขบวนแห่เทศกาลและฟ้อนต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยี่ยมเยือน 2. ประเพณีแข่งเรืออัตลักษณ์น่าน แข่งเรือเมืองน่าน เป็นประเพณีเก่าแก่สืบเนื่องมาแต่โบราณ ซึ่งหมู่บ้านใดวัดใดจัดให้มีการตานก๋วยสลากก็ให้มีการเชื้อเชิญหมู่บ้าน และวัดใกล้เคียงให้นำเรือมาแข่งกันเพื่อความสนุกสานสมานสามัคคี โดยในปัจจุบันการแข่งรือนัดสำคัญจะอยู่ในช่วงงานวันตานสลากของวัดพระธาติช้างค้ำวรวิหาร ราวเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี เอกลักษณ์ของเรือเมืองน่านไม่เหมือนจังหวัดใดในประเทศไทย คือ
เดิมจังหวัดน่านได้กำหนดขอบเขตเมืองประวัติศาสตร์น่านชั้นในตามประกาศจังหวัดน่าน (หัวแหวนเมืองน่าน) ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2546 ต่อมามติที่ประชุมสัมมนา จากโครงการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน เห็นชอบให้เปลี่ยนคำว่า “หัวแหวนเมืองน่าน” เป็น “ใจเมืองน่าน” และกำหนดขอบเขตตามแผนผัง ครอบคุลมสถานที่สำคัญประกอบด้วย ข่วงเมืองน่าน คุ้มเจ้าราชบุตร ศาลากลางหลังเก่า วัดกู่คำ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดหัวข่วง