ทำความรู้จัก GSTC เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนก่อนออกเดินทาง
หากถามถึงมาตรฐานเกณฑ์การท่องเที่ยวในโลกใบนี้ ก็อาจพบเจอเป็นร้อยมาตรฐานด้วยกัน เพราะฉะนั้นด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดองค์กรอิสระและไม่แสวงผลกำไรซึ่งทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจการท่องเที่ยวและการเดินทางขึ้นมานั่นเอง แน่นอนว่ามาตรฐานที่ถูกตั้งขึ้นนี้ได้ทำการพัฒนามายาวนานหลายปีด้วยกัน โดยหลักสำคัญก็คือการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในครั้งนี้เราก็จะพาเพื่อนๆ นักเดินทางมาทำความรู้จักกับ GSTC กัน เป็นการเตรียมพร้อมในการหาข้อมูลก่อนเดินทางไปสถานที่ต่างๆ
GSTC คืออะไร
GSTC ย่อมาจาก The Global Sustainable Tourism Council ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามที่ได้เอ่ยไปข้างต้น โดยตัวองค์กรได้ทำการกำหนดมาตรฐานเป็นพื้นฐานระดับโลกเอาไว้เป็นเกณฑ์ให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจที่ตรงกัน ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวหรือธุรกิจต่างๆ สามารถนำมาตรฐาน GSTC ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของตนเองได้ โดยใจความสำคัญจะเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ความเท่าเทียมทางเพศสภาพ ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขปัญหาด้านการท่องเที่ยวต่างๆ
หลักเกณฑ์ GSTC ถูกแบ่งออกเป็นอย่างไร
ตัวหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ถูกแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ หลักๆ สามารถแบ่งออกเป็น 4 หมวดด้วยกันคือ
1. หมวด A : การบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่มีประสิทธิภาพ
2. หมวด B : การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบ ทางสังคม – เศรษฐกิจแก่ชุมชนท้องถิ่น
3. หมวด C : การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบ ทางวัฒนธรรมแก่ชุมชนและนักท่องเที่ยว
4. หมวด D : การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบด้านลบทางสิ่งแวดล้อม
โดนหลักเกณฑ์ในทุกหมวดได้มีการระบุตัวชี้วัดเอาไว้อย่างชัดเจนเรียบร้อย
เว็บไซต์ “น่านอยู่ดี” หนึ่งในโครงการดีๆ สำหรับจังหวัดน่าน
หนึ่งในโครงการศึกษาและออกแบบพื้นที่การสร้างสรรค์ผลงานในแหล่งท่องเที่ยวและเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ เพื่อรองรับ CBT Aging Friend และพัฒนาชุมชนพื้นที่ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart city) เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกสบายอย่างเว็บไซต์น่านอยู่ดี ก็เป็นโครงการดีๆ ที่นำหลักเกณฑ์ GSTC หรือการออกแบบอย่างยั่งยืนเข้ามาใช้ ตัวเว็บน่านอยู่ดีเป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลการท่องเที่ยวและบริการท่องถิ่นของจังหวัดน่านเอาไว้ โดยมีจุดเด่นอยู่ที่มีข้อมูลที่แสดงอย่างชัดเจนว่าสถานที่นั้นๆ มีการออกแบบ Universal Design หรือไม่ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถสังเกตได้ง่ายๆ ผ่านทางสัญลักษณ์ที่ทางเว็บไซต์จัดทำขึ้น
เที่ยวน่านสบายใจกับการออกแบบรองรับ GSTC
จังหวัดน่านนี้มีความน่าสนใจไม่น้อยกว่าจังหวัดชื่อดังอื่นๆ นอกจากแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย เพื่อนๆ ก็สามารถเที่ยวน่านได้อย่างสบายใจ เนื่องจากการออกแบบเมืองท่องเที่ยวแห่งนี้รองรับหลักเกณฑ์ GSTC หลายข้อด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น
- ข้อที่ A7 ข้อกำหนดในการวางแผนแหล่งท่องเที่ยว มีข้อบังคับที่ชัดเจน
- ข้อที่ A8 การทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกได้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้พิการหรือไม่ก็ตาม
- ข้อที่ A10 มีการติดตามประเมินผลความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนา
- ข้อที่ A12 ความปลอดภัยและสวัสดิภาพ
- ข้อที่ A13 แผนรองรับ การจัดการสภาวะวิกฤติและเหตุฉุกเฉิน
- ข้อที่ D5 การอนุรักษ์พลังงาน มีการรายงานให้สาธารณชนรับรู้ ตรวจสอบได้
เพราะฉะนั้นแล้วใครที่กำลังหาสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนในหยุดยาวที่จะถึงนี้ ก็สามารถเข้ามาหาข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์น่านอยู่ดีได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นที่พักหรือสถานที่ท่องเที่ยว ภายในเว็บไซต์ก็มีข้อมูลพร้อมให้เพื่อนๆ ได้ค้นหากัน