มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
1. ฟ้อนล่องน่าน
ฟ้อนล่องน่านเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดน่านที่มีการฟ้อนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคืนฟ้อนไม่จีบมือ และท่าฟ้อนเป็นท่าที่ได้มาจากวิถีชีวิตของชาวเมืองน่าน โดยชาวน่านมักจะนำมาฟ้อนในงานบุญต่างๆ เช่น งานฟ้อนนำขบวนแห่ในงานต่างๆ เช่น ขบวนแห่ครัวทานเข้าวัด งานขบวนแห่เทศกาลและฟ้อนต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่มาเยี่ยมเยือน
2. ประเพณีแข่งเรืออัตลักษณ์น่าน
แข่งเรือเมืองน่าน เป็นประเพณีเก่าแก่สืบเนื่องมาแต่โบราณ ซึ่งหมู่บ้านใดวัดใดจัดให้มีการตานก๋วยสลากก็ให้มีการเชื้อเชิญหมู่บ้าน และวัดใกล้เคียงให้นำเรือมาแข่งกันเพื่อความสนุกสานสมานสามัคคี โดยในปัจจุบันการแข่งรือนัดสำคัญจะอยู่ในช่วงงานวันตานสลากของวัดพระธาติช้างค้ำวรวิหาร ราวเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี
เอกลักษณ์ของเรือเมืองน่านไม่เหมือนจังหวัดใดในประเทศไทย คือ เป็นเรือที่ขุดจากไม้ทั้งต้น หัวโอ้ (หัวโขนเรือ) จะเป็นรูปพญานาค และหางวัลย์ (ส่วนหางเรือ) จะเป็นหางหงส์ เชื่อกันว่าพญานาคมีความศักดิ์สิทธิ์ ที่จะบันดาลให้ฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์สามารถทำไร่นาได้ตามฤดูกาล
3. การตีกลองปูชา
กลองบูชา (กลองปูจา) เป็นกลองของคนเมืองน่าน ที่ใช้ตีเป็นพุทธบูชาซึ่งเป็นกลองประจำวัดและอยู่คู่กับพุทธศาสนาในเมืองน่านและถิ่นล้านนามาช้านาน ทั้งนี้ เป็นกลองที่มีความสำคัญในระดับหมู่บ้าน และระดับเมืองเพราะเป็นกลองตีบอกสัญญาณต่างๆ อาทิ บอกเหตุข้าศึกเข้าโจมตีเมือง น้ำท่วม ไฟไหม้ เรียกประชุม บอกเวลา บอกเหตุผลสำคัญที่เกิดขึ้นในวัด หรือ บอกเหตุในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
อบคุณรูปภาพจาก : โครงการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และเพจ น่านบันดาลใจ